เมนู

10. อินทริยภาวหาสูตร



[853] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ป่าไผ่ ในนิคมชื่อกัชชังคลา
ครั้งนั้นแล อุตตรมาณพ ศิษย์พราหมณ์ปาราสิริยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ายังที่ประทับ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทัก
ทายปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
[854] พอนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามดังนี้ว่า
อุตตระ ปาราสิริยพราหมณ์แสดงการเจริญอินทรีย์แก่สาวกหรือเปล่า
อุ. แสดง พระโคดมผู้เจริญ.
พ. อุตตระ แสดงอย่างใด ด้วยประการใด.
อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในเรื่องนี้ ท่านปาราสิริยพราหมณ์แสดง
การเจริญอินทรีย์แก่สาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า อย่าเห็นรูปด้วยจักษุ อย่าได้ยิน
เสียงด้วยโสต.
พ. อุตตระ เมื่อเป็นเช่นนี้ คนที่เจริญอินทรีย์แล้วตามคำของ
ปาราสิริยพราหมณ์ต้องเป็นคนตาบอด ต้องเป็นคนหูหนวก เพราะคนตาบอด
ไม่เห็นรูปด้วยจักษุ คนหูหนวกไม่ได้ยินเสียงด้วยโสต เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสแล้วอย่างนี้ อุตตรมาณพ ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นั่งนิ่ง เก้อเขิน
คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ.
[855] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อุตตรมาณพ
ศิษย์ปาราสิริยพราหมณ์ นิ่ง คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงรับ
สั่งกะท่านพระอานนที่ว่า อานนท์ ปาราสิริยพราหมณ์ ย่อมแสดงการเจริญ

อินทรีย์ แก่สาวกทั้งหลายอย่างหนึ่ง ส่วนการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่ง
กว่าในวินัยของพระอริยะ ย่อมเป็นอีกอย่างหนึ่ง.
ท่านพระอานนที่ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคต เป็นการ
สมควรแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงการเจริญอินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่น
ยิ่งกว่า ในวินัยของพระอริยะ ภิกษุทั้งหลายพึงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จัก
ทรงจำไว้.
พ. อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงพึง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป
ท่านพระอานนที่ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า.
[856] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า อานนท์ ก็การเจริญ
อินทรีย์อันไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ เป็นอย่างไร อานนท์ ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่
ชอบใจขึ้น เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ
ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและมีชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็น
สังขตะ หยาบอาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคือ อุเบกขา
เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อัน
เกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความ
ชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่าง
นี้ ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบากเหมือนอย่างบุรุษมีตาดีกระพริบตา ฉะนั้น
อุเบกขาย่อมดำรงมั่น อานนท์นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในรูปที่รู้ได้
ด้วยจักษุ อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[857] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจขึ้น เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต เธอ
รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่

ชอบใจขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยการเกิดขึ้น ยัง
มีสิ่งที่ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่
ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึง
ดำรงมั่น อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง
ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่
ลำบาก เหมือนอย่างบุรุษมีกำลัง ดีดนิ้วมือโดยไม่ลำบาก ฉะนั้น อานนท์
นี้เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในเสียงที่รู้ได้ด้วยโสต อย่างไม่มีวิธีอื่นยิ่งกว่า
ในวินัยของพระอริยะ.

ว่าด้วยการเจริญอินทรีย์


[858] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ เธอรู้ชัด
อย่างนี้ว่า เราเกิดความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ
ขึ้นแล้วเช่นนี้ ก็สิ่งนั้นแล เป็นสังขตะ หยาบ อาศัยกันเกิดขึ้น ยังมีสิ่งที่
ละเอียด ประณีต นั่นคืออุเบกขา เธอจึงดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้ง
ความชอบใจและไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้วนั้นเสีย อุเบกขาจึงดำรงมั่น
อานนท์ ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหนึ่งดับความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจ
และไม่ชอบใจ อันเกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ได้เร็วพลันทันที โดยไม่ลำบาก เหมือน
อย่างหยาดน้ำกลิ้งไปบนใบบัว ย่อมไม่ติดในที่ที่กลิ้งไปสักน้อยหนึ่ง ฉะนั้น
อานนท์ เราเรียกว่า การเจริญอินทรีย์ในกลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ. อย่างไม่มี
วิธีอื่นยิ่งกว่าในวินัยของพระอริยะ.
[859] อานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุเกิดความชอบใจ ความ
ไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา เธอรู้ชัด